บันทึกการฝึกครั้งสุดท้าย ตอนที่ ๑
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 18:58
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:35
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 18:58
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 43422
บทความเรื่อง "บันทึกการฝึกครั้งสุดท้าย" (ตอนที่ ๑)
โดย.....พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก
ปีสุดท้ายของการรับราชการ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการฝึกกองทัพเรือ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ โดยได้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ “หัวหน้าส่วนควบคุมการฝึกและประเมินผล” ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการวางแผน กำหนดแนวทางและควบคุมการฝึกให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ทางราชการกำหนด พร้อมกับประเมินผล รายงานข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะ และบทเรียนที่ได้รับจากการฝึกให้กองอำนวยการฝึกทราบ ในการนี้สำหรับการจัดทำสถานการณ์และลำดับเหตุการณ์หลักที่ใช้ในการฝึกปัญหาที่บังคับการ ซึ่งเป็นงานสำคัญในหน้าที่นั้นได้กำหนดจุดมุ่งไว้คือ นอกจากต้องสนองตอบความมุ่งหมายที่หน่วยเหนือกำหนดแล้ว การจัดทำสถานการณ์และลำดับเหตุการณ์หลักนี้ มีความต้องการให้หน่วย/ผู้รับการฝึกได้เผชิญกับภัยคุกคามที่มีขีดความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ และจะต้องได้รับการฝึกตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในยามสงครามพร้อมกันนั้น จะต้องมีความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการปฏิบัติกาและการตอบโต้การปฏิบัติการของข้าศึกที่จะส่งผลกระทบต่อการแพ้ชนะของสงครามและความอยู่รอดของประเทศชาติ ..........
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๕๕
นายทหารติดตามกับการประชุม APICC
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:54
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:36
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:54
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 43119
นายทหารติดตามกับการประชุม APICC
โดย......นาวาตรีหญิง กันทิมา ชะระภิญโญ
ท่านเบนจามิน ดิสราเอลี Benjamin Disraeli อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เคยกล่าวไว้ว่าความลับของความสำเร็จในชีวิตคือ จงเตรียมตัวเองให้พร้อมเสมอสำหรับโอกาสที่กำลังมาถึง (The secret of success in life is to be ready for your opportunity when it comes) ซึ่งผู้เขียนเองก็ยึดหลักปฏิบัติเช่นนั้นเสมอมาจนเมื่อคราวที่ได้รับการประสานจากกรมแพทย์ทหารเรือให้ไปเป็นนายทหารติดตามเจ้ากรมข่าวทหารในการประชุมเจ้ากรมข่าวทหารเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Asia-Pacific Intelligence Chiefs Conference หรือนิยมเรียกกันว่า APICC (เอ ปิก) APICC เป็นความริเริ่มของกองกำลังสหรัฐ ฯ ภาคพื้นแปซิฟิก ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเชิญเจ้ากรมข่าวทหารของประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก เข้าร่วมพบปะหารือเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านการข่าวและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านความมั่นคง โดยกองกำลังสหรัฐ ฯ ภาคพื้นแปซิฟิกจะเชิญประเทศในภูมิภาค ๑ ประเทศเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ฯ ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ในห้วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีการจัดการประชุม ฯ มาแล้วรวม ๔ ครั้ง โดยมีประเทศที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับสหรัฐ ฯ นับตั้งแต่ ครั้งที่ ๑-๔ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งในการประชุม APICC ครั้งที่ ๔ ณ กรุงโตเกียว นั้น เจ้ากรมข่าวทหาร กองกำลังสหรัฐ ฯ ภาคพื้นแปซิฟิกได้ทาบทามกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APICC ครั้งที่ ๕ ณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งกองทัพไทยได้ตอบรับ และกำหนดจัดการประชุมดังกล่าวขึ้นในระหว่าง วันที่ ๑๑ - ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ฯ ..........
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๖ เล่มที่ ๑ เดือน มกราคม ๒๕๕๖
นาโนเทคโนโลยีนวัตกรรมที่กองทัพไม่ควรมองข้าม
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:49
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:37
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:49
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 42580
นาโนเทคโนโลยีนวัตกรรมที่กองทัพไม่ควรมองข้าม
โดย......สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
การรบ การทำสงคราม และการดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศเป็นหน้าที่หลักของทหาร ดังนั้นทหารจะต้องมีความพร้อมด้านกำลังรบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งต้องเรียนรู้ ติดตามเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ ความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภารกิจทางทหาร อันจะก่อให้เกิดความได้เปรียบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
“นาโนเทคโนโลยี” (Nanotechnology) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ การศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของวัสดุที่มีขนาดระดับนาโนเมตร หรือ “นาโนศาสตร์” (Nano Science) เป็นสหวิทยาการ (Multidisciplinary Area) ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหลายแขนง เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง การค้นคว้าวิจัยต่อยอดด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงจึงพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว .....
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๖ เล่มที่ ๑ เดือน มกราคม ๒๕๕๖
ทุ่นเตือนภัยสึนามิในวันนี้
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:41
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:38
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:41
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 44798
ทุ่นเตือนภัยสึนามิในวันนี้
โดย....นาวาตรี กำชัย เจริญพงศ์ชัย
เมื่อ ๗ ปีก่อน ทุ่นเตือนภัยสึนามิของไทยทุ่นแรก ถูกวางไว้เป็นด่านหน้าในการระวังภัยสึนามิ ให้กับประเทศโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และประเทศไทย ทุ่นถูกทิ้งลงในบริเวณละติจูดที่ ๘ องศา ๕๔ ลิปดาเหนือ ลองจิจูดที่ ๘๘ องศา ๓๒ ลิปดาตะวันออก บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ไกลจากประเทศไทย ประมาณ ๑,๑๕.๔๙๕ กิโลเมตร หรือ ๖๓๒.๖ ไมล์ทะเล โดยได้รับความช่วยเหลือจาก องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเหตุการณ์มหาภัยพิบัติ สึนามิ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗
หลังจากวันนั้นถึงวันนี้ ทุ่นเตือนภัยสึนามิได้ทำหน้าที่ของมันอย่างแม่นยำ เช่น เมื่อครั้งเกิดเหตุแผ่นดินไหว ๘.๙ ริคเตอร์ ที่ บริเวณหมู่เกาะสุมาตรา ทุ่นสามารถแจ้งให้ประเทศไทยและโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ได้ทราบถึงคลื่นสึนามิที่จะเกิดขึ้น และทำให้ประเทศไทยประกาศแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงที แม้ว่าคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจะไม่สูงมากจนเกิดความเสียหายก็ตาม .........
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๖ เล่มที่ ๑ เดือน มกราคม ๒๕๕๖
จีนกับมหาสมุทรอินเดีย (ตอนแรก)
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:30
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:39
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 19:30
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 43764
จีนกับมหาสมุทรอินเดีย (ตอนแรก)
โดย....พลเรือตรี ช่อฉัตร กระเทศ
จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วมากของจีนทำให้จีนมีความต้องการแหล่งทรัพยากรน้ำมันจากตะวันออกกลางอันเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดทั้งที่ห่างจากจีนกว่า ๕,๖๐๐ ไมล์ทะเลเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมของจีนได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง และผลจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่ทำให้การทหารของจีนมีความมั่นคงและแข็งแกร่งขึ้นจนไม่เป็นที่ไว้วางใจของประเทศรอบบ้าน ประกอบกับเริ่มมีความเคลื่อนไหวทางทหารของจีนสู่มหาสมุทรอินเดีย ภายใต้นโยบาย “ไม่แทรกแซง” จนเกิดคำถามวิจัยที่น่าสนใจมากว่า ถ้าเช่นนั้น “ทำไมจีนถึงขยายบทบาทของตนสู่มหาสมุทรอินเดีย” ทั้งที่ห่างไกลจากประเทศจีนมาก ภายใต้ความหวาดระแวงของชาติต่าง ๆ ซึ่งจีนหากขยายบทบาทสู่มหาสมุทรอินเดียจริง จีนจะต้องมีการเตรียมการอย่างมากถึงจะสามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องและคานอำนาจกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ที่ปฏิบัติการอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย และนอกจากน้ำมันแล้ว อะไรคือ ผลประโยชน์ที่ทำให้จีนเริ่มเข้าไปมีบทบาทอย่างมากในมหาสมุทรอินเดียทั้งที่อยู่ห่างจากจีนมาก .....
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๖ เล่มที่ ๑ เดือน มกราคม ๒๕๕๖