เล่าเรื่องการยึดเรือ
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันศุกร์, 14 ธันวาคม 2555 20:37
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:41
- เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์, 14 ธันวาคม 2555 20:37
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 16699
โดย....พลเริอโท อำนาจ บุญญไพบูรณ์
การยึดเรือหรือการกักเรือ เป็นภาษาทางกฎหมายพาณิชยนาวี เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันระหว่างการกักเรือและการยึดเรือเพื่อการบังคับคดี เกือบจะเป็นเรื่องจริงในอดีตที่ผ่านมานับเป็นประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียน ที่จะนำเสนอให้ผู้อ่านทุกท่าน ทุกวัย ได้รู้ถึงกลยุทธ์ วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ผู้อ่านคงคิดว่าผู้เขียนเป็นนักทำลายใต้น้ำกระมัง หรือไม่ก็เป็นกบฏในเรือเปล่าครับ ถ้าคิดอย่างนั้นเขาเรียกว่า "การขโมยเรือ" ครับ ไอ้เรื่องอย่างนี้ถนัดครับ เพราะเป็นปณิธานที่อยู่ในใจใครจะเอาอย่างก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือติดเครื่องจักรได้และใช้อาวุธ (เครื่องควบคุมการยิง ปืน อาวุธปล่อยนำวิถี ตอร์ปิโด) ยุทโธปกรณ์ (เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์) ที่มีอยู่ในเรือเป็น ก็สามารถนำเรือไปได้ แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นคนละรูปแบบ
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๕๕
๑๘ ปียุทธการนาวาราชาแห่งลำน้ำ
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 18:46
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:40
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 18:46
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 41970
บทความเรื่อง "๑๘ ปียุทธการนาวาราชาแห่งลำน้ำ"
โดย...พลเรือตรี วินัย กล่อมอินทร์
นาวิกศาสตร์ เดือนธันวาคม ๒๕๕๕
การแข่งเรือหรือการแข่งเรือยาวมีมาแต่สมัยโบราณกาล แต่ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าประเทศใดที่จัดให้มีการแข่งเรือเป็นประเทศแรกของโลก แต่ก็กล่าวได้ว่าการแข่งเรือเป็นที่นิยมของชนชาติและประเทศทางแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยในแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถโปรดให้มีการแข่งเรือของบรรดาทหารเป็นทำนองฝึกซ้อมฝีพายให้พร้อมและเน้นความสามัคคี หลังจากแข่งขันได้พระราชทานรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสมัยที่มีการเรือเข้มแข็งที่สุดเป็นเหมือนเรือเร็ว เมื่อคราวพระยาจีนจันตุคิดหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระองค์ประทับเรือเร็วออกติดตาม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงใช้กำลังทางเรือซึ่งประกอบด้วยเรือสำเภา และเรือยาว โดยรวบรวมไพร่พลมาจากจันทบุรี ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ผ่านทางหัวเมืองชายทะเล ระยอง แสมสาร สัตหีบ พัทยา ชลบุรี เข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยา ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ แล้วตีค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ จนกองทัพพม่าแตกพ่ายเพราะไม่คาดคิดว่าจะต้องพบกับการยกพลขึ้นบก ซึ่งการนำไพร่พลมากับเรือสำเภาและขึ้นบกจากเรือใหญ่ขึ้นฝั่งต้องอาศัยเรือเล็กซึ่งก็คือเรือยาวนั่นเอง นับแต่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ เรือพายถือเป็นยุทโธปกรณ์หลัก ฝีพายต้องมีฝีมืออันยอดเยี่ยม สะพายดาบอยู่ข้างหลัง มือพายเรือ เมื่อหยุดพายเรือก็จับดาบฟันข้าศึกกู้ชาติ สร้างชาติ และรักษาเอกราชมาจนถึงทุกวันนี้ เรือเร็ว เรือพาย ในสมัยนั้น ๆ ก็คือเรือยาวที่เราใช้แข่งขันกันอยู่ทุกวันนี้
ผู้การเรือดำน้ำโลกจารึก
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันจันทร์, 23 กันยายน 2556 21:27
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันเสาร์, 07 มิถุนายน 2557 12:27
- เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์, 23 กันยายน 2556 21:27
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 10047
บทความเรื่อง "ผู้การเรือดำน้ำโลกจารึก"
"ผู้การเรือดำน้ำโลกจารึก" มีเนื้อหาที่ กล่าวถึง ฉากชีวิตของผู้บังคับการเรือดำน้ำ ๒ คน ที่ผ่านสงครามโลก และโชคดีที่มีโอกาสรอดชีวิตของ ผู้บังคับการเรือดำน้ำทั้ง ๒ คน ได้แก่ พลเรือเอก คาร์ล เดอนิตซ์ (Karl Doenitz) ผู้บัญชาการทหารเรือ แห่งกองทัพเรือเยอรมัน (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) และ นาวาเอกอเล็กซานเด้อร มาริเนสโก้ ผู้บังคับการเรือดำน้ำ เอส-๑๓ แห่งกองทัพเรือรัสเซีย
สำหรับ ผู้บังคับการเรือดำน้ำคนแรก พลเรือเอก คาร์ล เดอนิตซ์ นี้น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดอนิตซ์มียศเป็น "เรือเอก" และได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับการเรือ อู-๕๓ ซึ่งออกปฏิบัติการในทะเลเมดิเตอเรเนียน เขาได้ล่าทำลายเรือสินค้าได้หลายลำโดยใช้ยุทธวิธีจู่โจมในเวลากลางคืน ต่อมา เรืออู-๕๓ ของเขาก็ถูกระเบิดน้ำลึกเสียหาย ทำให้ต้องลอยลำขึ้นมาและทุกคนบนเรือถูกจับเป็นเชลยในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายหลังสงครามสงบ เดอนิตซ์ กลับมาทำหน้าที่ ผู้บังคับการเรือตอร์ปิโด และเป็นครูฝึกของหน่วยเรือดำน้ำ โดยบังหน้าว่าเป็นหลักสูตร "ต่อต้านหรือปราบเรือดำน้ำ" ซึ่งฮิตเลอร์ ตัดสินใจที่จะละเมิดข้อตกลงในสัญญาสันติภาพหรือสัญญาแวร์ซายที่ห้ามเยอรมันขยายกำลังรบ
เดอนิตซ์ประสบความสำเร็จในการสร้างกองเรือดำน้ำที่มีเรือ ๕๗ ลำ เมื่อต้นสงครามและขยายเพิ่มจนเยอรมันมีเรือดำน้ำชั้นถึง ๓๐๐ ลำ ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ กองเรืออูของเดอนิตซ์อาศัยยุทธวิธี "ฝูงหมาป่า" หรือการใช้เรือดำน้ำรุมเล่นงานกองเรือลำเลียงหรือ "คอนวอย" ข้าศึก ทำให้การปฏิบัติภารกิจประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่งตลอดสงครามเรืออูของเยอรมันภายใต้การบังคับบัญชาของเดอนิตซ์สามารถจมเรือ คิดเป็นระวางขับน้ำได้ถึง ๗ ล้านตัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง เขาตกเป็น "อาชญากรสงคราม" ๑๐ ปี หลังถูกจำคุกเป็นเวลา ๑๐ ปี ต่อมาพลเรือเอกเดอนิตซ์ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระและได้รับการยกย่องให้เป็น "รัฐบุรุษ" ของเยอรมันตะวันตกซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
ผู้บังคับการเรือดำน้ำโลกจารึก คนที่ ๒ ก็คือ "อเล็กซานเด้อร มาริเนสโก้" ผู้บังคับการเรือดำน้ำ เอส-๑๓ แห่งกองทัพเรือรัสเซีย โลกจารึกชื่อเขาไว้ ในฐานะผู้บังคับการเรือดำน้ำที่จมเรือศัตรูพร้อมด้วยชีวิตพลเรือนและทหารบาดเจ็บจำนวนกว่า ๑๕,๐๐๐ คน โดยเฉพาะการก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมทางทะเล ที่เรือดำน้ำ เอส-๑๓ ของรัสเซีย ได้สังหารผู้อพยพชาวเยอรมันบนเรือ "วิลเฮม กุสลอฟ" ที่อพยพคนเยอรมันออกจากฝั่งตะวันออกไปยังตะวันตกเพื่อเลือกที่จะอยู่ใต้การควบคุมของกองทัพอังกฤษในตอนปลายของสงคราม ผู้อพยพจำนวนหลายพันคนต้องเผชิญกับความโหดร้ายทารุณของท้องทะเล และจบชีวิตในทะเลบอลติกที่หนาวเย็น อย่างสยดสยอง โดยเรือดำน้ำ เอส-๑๓ ยิงตอร์ปิโดใส่เรือ "วิลเฮม กุสลอฟ" จำนวน ๓ ลูก ทำให้เรือทั้งลำเอียงข้าง น้ำท่วมมากขึ้น เครื่องจักรใหญ่และเครื่องไฟฟ้าหยุดทำงาน ระบบขับเคลื่อนทั้งหมดใช้การไม่ได้ เรือ "วิลเฮม กุสลอฟ" เชิดหัวตั้งตรงขึ้นแล้วจมลงไปในลักษณะที่เอาท้ายลงไปก่อน
ผู้เขียนได้บรรยาย ให้เห็นถึงโศกนาฏกรรม ของผู้โดยสารบนเรือ "วิลเฮม กุสลอฟ" เช่น
การแย่งกันลงเรือช่วยชีวิตจนเกินอัตรา เมื่อหย่อนเรือช่วยชีวิตลงไปในท้องทะเลที่มีคลื่นใหญ่ และเมื่อท้องเรือถึงน้ำ แรงคลื่นก็หนุนเรือ ให้เชิดหัวขึ้นแล้วพลิกคว่ำ ส่งทุกชีวิตบนเรือลงไปสู่ความเย็นเฉียบ และมืดมิดของผืนน้ำ ท่ามกลางความอกสั่นขวัญแขวนและเสียงหวีดร้องของผู้ที่เห็นเหตุการณ์
ผู้โดยสารบางคนที่สวมเสื้อชูชีพอยู่ ก็ตัดสินใจกระโจนลงทะเล แต่ก็ต้อง "แข็งตาย" ในเวลาต่อมา เพราะอุณหภูมิในขณะนั้นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งหลายองศา
ลูกเรือคนหนึ่งเล่าว่า
"เมื่อพังประตูเคบินห้องหนึ่งเข้าไป สิ่งที่เห็นก็ทำให้ผมต้องผงะเพราะนายทหารเรือเยอรมันถือปืนพก กำแน่น ที่ขาของเขามีเด็กวัย ๕ ขวบกอดอยู่พร้อมกับร้องไห้จ้า และที่พื้นกลางห้อง มีผู้หญิงกับเด็กทารกนอนจมกองเลือด นายทหารคนนั้นตวาดไล่ให้ผมออกไป หลังจากนั้น ก็มีเสียงปืนดังขึ้นอีก ๒ นัด ทำให้ผมรู้ได้ทันทีว่าผู้เป็นพ่อเลือกวิธีตายให้กับคนทั้งครอบครัวด้วยการระเบิดหัวแทนที่จะจมไปพร้อมกับเรือ"
"เคอนุส" นายช่างกลของเรือ "วิลเฮม กุสลอฟ" กล่าวถึงวาระสุดท้ายของเรือลำมหึมานั้น ว่า
"ขณะที่อยู่บนเรือช่วยชีวิต ผมมองเห็นผู้โดยสารอีกหลายร้อยคนที่ติดค้างอยู่บนเรือและโบกมือไหว ๆ พร้อมทั้งร้องตะโกนให้ช่วยขณะที่เรือค่อย ๆ จมลงไป บางคนตัดสินใจกระโจนลงน้ำแล้วว่ายตรงมาที่เรือช่วยชีวิตแต่บนเรือแน่นขนัดจนรับใครอีกไม่ได้ คนเหล่านั้นจึงได้แต่เกาะข้างเรือก่อนที่จะจมหายไปในเวลาต่อมาเมื่อร่างกายต่อสู้กับความหนาวเย็นต่อไปไม่ไหว"
เมื่อกัปตัน มาริเนสโก้ ผู้บังคับการเรือดำน้ำเอส-๑๓ ของรัสเซียแน่ใจว่าเรือ"วิลเฮม กุสลอฟ" จมลงแล้ว เขาจึงสั่งดำ เพื่อเตรียมหลบออกจากบริเวณนั้น โดยไม่ได้ให้การช่วยเหลือคนที่ลอยคออยู่กลางทะเล เช่นเดียวกันกับเรือดำน้ำเยอรมันที่ไม่เคยช่วยเหลือใคร ตามคำสั่งของนายพล "เดอนิตซ์" ผู้บัญชาการทหารเรือเยอรมันที่เคยออกคำสั่ง "ห้าม" เรือดำน้ำเยอรมันปฏิบัติการกู้ภัยทางทะเลโดยเด็ดขาด ห้ามไม่ให้เรืออูรับลูกเรือหรือผู้โดยสารที่รอดชีวิตขึ้นมาบนเรือ ตลอดจนห้ามให้การช่วยเหลือในทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร หรือชูชีพ จนเรือดำน้ำเยอรมันได้ฉายาว่าเป็นนักรบใต้สมุทร "ผู้ไร้คุณธรรม"
นอกจากนี้ มาริเนสโก้ ยังสามารถจมเรือ "เจนเนอรัล สตูบันว์" ของเยอรมัน อับปางลงพร้อมกับชีวิตทหารบาดเจ็บประมาณ ๒,๐๐๐ คน พลเรือนอีก ๑,๕๐๐ คน ขณะลำเลียงผู้อพยพและทหารบาดเจ็บ และจมเรือขนาดกลางของเยอรมันได้อีก ๒ ลำ
แต่ในขณะนั้นช่วงระยะเวลาระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน ในปีสุดท้ายของสงครามโลก รัสเซียซึ่งได้ทำการขัดขวางการอพยพทางทะเลของเยอรมัน อย่างไม่หยุดยั้ง โดยการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด และเรือดำน้ำเข้าโจมตี ทำให้ไม่มีใครเชื่อว่า เรือดำน้ำ เอส-๑๓ ของมาริเนสโก้ จมเรือโดยสารขนาดใหญ่ของเยอรมัน เขาได้รับเพียงเหรียญสดุดี "เลนิน" ธรรมดา ๆ ซึ่งทหารที่ผ่านสงครามทั่ว ๆ ไปได้รับ แทนที่จะเป็นเหรียญกล้าหาญ "ชั้นสูงสุด" ในฐานะวีรบุรุษสงคราม
มาริเนสโก้ก็ต้องถูกออกจากกองทัพเรือด้วยข้อหา "กระด้างกระเดื่อง" ต่อผู้บังคับบัญชา และต่อมาก็ถูกจับในข้อหามีความผิดทางการเมืองซึ่งเป็นภัยต่อรัสเซียและถูกเนรเทศไปอยู่ในคุกไซบีเรียถึง ๓ ปี
ต่อมา ในปี ค.ศ.๑๙๕๓ หลังจากสตาลินผู้นำรัสเซียถึงแก่อสัญกรรมได้เพียง ๒ ปี นักโทษการเมืองในไซบีเรียจึงได้รับการปลดปล่อยรวมทั้งมาริเนสโก้ด้วย นายทหารระดับสูงในกองทัพเรือหลายคน ซึ่งรู้ความจริงได้ให้ความช่วยเหลือ จนมาริเนสโก้ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง มีการ "คืนยศ" ให้กับอดีตผู้บังคับการเรือดำน้ำผู้โชคร้าย และเลื่อนขั้นให้เป็น "นาวาเอก" เพื่อตอบแทนความกล้าหาญของเขา
และในปี ค.ศ.๑๙๖๐ จึงมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า เรือดำน้ำเอส-๑๓ สามารถจมเรือขนาดยักษ์ของเยอรมันได้ถึง ๒ ลำ ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วยฝืมือของผู้บังคับการเรือที่ชื่อนาวาเอก "อเล็กซานเดอร์ มาริเนสโก้" พิพิทธภัณฑ์ทหารในรัสเซียจารึกชื่อของมาริเนสโก้ในฐานะ "วีรบุรุษ" คนหนึ่ง
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
รายละเอียด
- รายละเอียด
- สร้างเมื่อ วันจันทร์, 23 กันยายน 2556 10:42
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 18:24
- เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์, 23 กันยายน 2556 10:42
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 3852
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
นิทานชาวไร่ เรื่อง บนถนนสุขุมิวิทย์
รายละเอียด
- รายละเอียด
- สร้างเมื่อ วันอาทิตย์, 22 กันยายน 2556 20:42
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพุธ, 28 พฤษภาคม 2557 17:58
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 22 กันยายน 2556 20:42
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 7919
นิทานชาวไร่ เรื่อง บนถนนสุขุมิวิทย์
เขียนโดย นาวาเอก สวัสดิ์ จันทนี
พศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๒