ปาฐกถา
![]() |
ราชนาวิกสภา ขอเชิญฟังการแสดงปาฐกถาของราชนาวิกสภา
ประจำปี ๒๕๕๔ |
||
ดำเนินการโดย สำนักงานราชนาวิกสภา กองบัญชาการ
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ |
|||
หัวข้อ
"ปัญหาเขตแดนทางบกและทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา" |
![]() |
||
ในวันอังคาร ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๘๐๐ น. – ๑๒๐๐ น. ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ |
|||
ผู้แสดงปาฐกถา |
|||
พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ
|
พลโท นพดล โชติศิริ
|
||
อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์
|
เจ้ากรมแผนที่ทหาร
|
||
คุณธัชยุทธ ภักดี
|
|||
รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
|
|||
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียนที่นี่ กรุณาส่งแบบลงทะเบียนของท่านมาทางโทรสาร หมายเลข ๐๒๔๗๕๔๙๙๘ หรือ |
|||
บันทึกการแสดงปาฐกถาพิเศษของราชนาวิกสภา ประจำปี ๒๕๕๘
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันศุกร์, 26 มิถุนายน 2558 09:52
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันศุกร์, 26 มิถุนายน 2558 11:41
- เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์, 26 มิถุนายน 2558 09:52
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 21558
บันทึกการแสดงปาฐกถาพิเศษของราชนาวิกสภา ประจำปี ๒๕๕๘ |
||
![]() |
||
![]() |
ช่วงที่ ๑ รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -วิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงและภัยคุกคามทางทะเล ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก |
|
(คลิกชมวิดีโอ) | ||
![]() |
ช่วงที่ ๒ นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ -สรุปสาระสำคัญของแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๔) -แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล -ความคาดหวังของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ต่อภารกิจและบทบาทของ ศรชล. |
|
![]() |
ช่วงที่ ๓ พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ -สาระสำคัญของ พรบ.ศรชล. -การเตรียมการและความพร้อมของ ทร. ใน ศรชล. -การประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ |
|
![]() |
ช่วงที่ ๔ พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ -การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล |
|
![]() (คลิกชมวิดีโอ) |
ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น | |
การจัดปาฐกถาของราชนาวิกสภา ประจำปี 2558
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอาทิตย์, 24 พฤษภาคม 2558 22:07
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันพฤหัสบดี, 25 มิถุนายน 2558 09:17
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 24 พฤษภาคม 2558 22:32
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 18894
การจัดปาฐกถาของราชนาวิกสภา ประจำปี 2558
![]() |
ปาฐกถาพิเศษของราชนาวิกสภาประจำปี ๒๕๕๘
ราชนาวิกสภา กำหนดจัดปาฐกถาประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ในหัวข้อ "ศรชล. : ความคาดหวังและบทบาทที่ปรับเปลี่ยน" ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย - สรุปสาระสำคัญของแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๔) - แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล - ความคาดหวังของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ต่อภารกิจและบทบาทของ ศรชล. รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนากรอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงและภัยคุกคามทางทะเลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ - สาระสำคัญของ พรบ.ศรชล. - การเตรียมการและความพร้อมของ ทร. ใน ศรชล. การประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ และ นาวาเอก เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน กรมข่าวทหารเรือ
ขอเชิญผู้ที่สนใจ "ลงทะเบียน" เข้าร่วมฟังปาฐกถาหัวข้อดังกล่าว ในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว ได้ที่นี่ |
การแสดงปาฐกถาของราชนาวิกสภา ประจำปี 2556 "การเจรจาสันติภาพ ทางออกวิกฤตชายแดนใต้"
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2556 09:41
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2556 11:09
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2556 09:41
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 18991
พลเรือโท บงสุช สิงห์ณรงค์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ/นายกกรรมการาชนาวิกสภา เป็นประธานในการแสดงปาฐกถาของราชนาวิกสภา ประจำปี 2556 ในหัวข้อ "การเจรจาสันติภาพ ทางออกวิกฤตชายแดนใต้" เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ
เลขาฯ สมช. ชี้ปัญหาไฟใต้ส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนอ่อนแอ ขณะที่ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เห็นด้วยกับรัฐบาลเดินหน้ากระบวนการเจรจาสันติภาพ แต่ต้องให้เกิดความต่อเนื่อง
กองทัพเรือ โดยราชนาวิกสภาจัดปาฐกถาในหัวข้อ "การเจรจาสันติภาพ ทางออกวิกฤตชายแดนใต้ " โดยมี พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ร่วมอภิปราย
ทั้งนี้ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ แสดงความเห็นว่า กระบวนการในการเจรจาเพื่อสันติภาพของไทยเดินมาถูกทางแล้ว แต่จุดอ่อนของไทย คือ ที่ผ่านมาไม่มีความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในขณะที่ความขัดแย้งในฟิลิปปินส์ที่มีมานานเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลมาถึง 3 คน แต่ก็ยังเดินหน้าแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องภายใต้โรดแม็พเดียวกัน และจากการศึกษามากว่า 10 ประเทศ พบว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากคนในพื้นที่ โดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ส่วนที่เห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้มีความรุนแรงมากขึ้นนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะช่วงเวลาการเริ่มเจรจาเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงที่สุด หากพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ จะสามารถพูดคุยและสร้างความเข้าใจได้ จึงขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้ความอดทน แม้ในขณะที่เจรจาอยู่จะเกิดสงครามก็ยังจำเป็นต้องใช้การเจรจา การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต้องพูดความจริงทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้หน่วยงานของไทยต้องมีเอกภาพ โดยส่วนตัวหวังให้นายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นประธานแก้ปัญหาภาคใต้อย่างจริงจัง เพราะห่วงว่าจะมอบหมายให้คนอื่นมาแทน ทั้ง ๆ ที่สถานะของนายกรัฐมนตรีพร้อมทั้งในฐานะผู้นำรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้าน พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร กล่าวว่า รูปแบบการเจรจาเป็นในรูปแบบที่เปิดเผยได้ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการจากประชาชนมาสู่รัฐสภา และมีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมาเลเซียยังเป็นผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น และขั้นตอนในการเจรจาขณะนี้อยู่ในขั้นตอนก่อนการพูดคุยอย่างเป็นทางการ ปัญหาดังกล่าวเกิดในพื้นที่ที่เป็นรอยต่อของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาของไทย แต่ปัญหาดังกล่าวกลับส่งผลกระทบให้เกิดความไม่แข็งแรงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงต้องร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่ายในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้องการคือ การทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ จึงถือเป็นศิลปะของรัฐบาลในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งนี้เนื้อหาในการพูดคุยยังคงเรื่องสำคัญอยู่ พร้อมเชื่อว่า เหตุการณ์ความรุนแรงเกิดจากหลายกลุ่ม ถึงแม้การเจรจาจะเป็นเจรจากับกลุ่มใหญ่เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่เชื่อว่าจะสามารถลดความรุนแรงลงได้
ด้าน นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร กล่าวในฐานะผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ว่า รัฐบาลมีหน้าที่วางนโยบายแต่ในส่วนของผู้ปฏิบัติเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับมวลชน ซึ่งสิ่งสำคัญในการเจรจาคือต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น ลดเงื่อนไขของประชาชนในพื้นที่ หากยังคงมีเงื่อนไขอยู่ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเงื่อนไขที่สำคัญคือ ความเป็นอยู่ที่ไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนรอมฎอนที่เกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่จะส่งผลต่อการเจรจาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเจรจากับคนในพื้นที่ซึ่งต้องทำความเข้าใจเพื่อไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย
วิดีทัศน์ประกอบการแสดงปาฐกถา หัวข้อ "การเจรจาสันติภาพ ทางออกวิกฤตชายแดนใต้"
ข่าว 3 มิติ (26 กรกฎาคม 2556) เสนอข่าวการปาฐกถา
ภาพกิจกรรมงานปาฐกถาประจำปี 2556
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 06 สิงหาคม 2556 10:05
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันอังคาร, 06 สิงหาคม 2556 10:09
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 06 สิงหาคม 2556 10:05
- เขียนโดย Webmaster
- ฮิต: 5425
ภาพกิจกรรมงานปาฐกถาประจำปี 2556