จาก Varyag ถึง Shilang เรื่องมันของอั๋ว!!!
รายละเอียด
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: เว็บเพจ
- สร้างเมื่อ วันศุกร์, 07 กันยายน 2555 07:58
- อัพเดตล่าสุดเมือ วันเสาร์, 15 มิถุนายน 2556 23:59
- เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์, 07 กันยายน 2555 07:58
- เขียนโดย editor
- ฮิต: 2183
นาวาโท ภาณุพันธุ์ รักษ์แก้ว
"But only one [aircraft carrier] is not enough, I think we should have our own aircraft carrier formation consisting of three or four aircraft carriers," Major General Xu Xiaoyan, PLA General Armament Department
บทความตอนที่แล้ว “จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน” ได้เห็นถึงการวางแผน การเตรียมการของ ทร.สปจ. ที่อยากจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ โดยที่น่ายกย่อง คือ การแสวงหาองค์ความรู้ ที่ไม่ใช่แค่เดินกำเงินไปซื้อของต่างชาติมาใช้ แต่มีเงินแล้วค่อยๆ เก็บเกี่ยว ศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ที่ตนเอง ไม่คุ้นเคย จนกระทั่งสามารถปรับปรุงและพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนให้ออกมาผงาดในทะเลเป็นผลสำเร็จ จนทำให้ทหารเรือทั้งโลกต้องจับตามอง
เมื่อได้อ่านข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงข่าวเมื่อ ส.ค.๕๔ ว่า “ยินดีรับฟังคำอธิบายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.) ถึงความจำเป็นในการมียุทโธปกรณ์ประเภทนี้ (เรือบรรทุกเครื่องบิน) โดยสหรัฐฯ เฝ้าติดตามด้วยความกังวลและมีข้อสงสัย ต่อโครงการที่ดูขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับการขยายอำนาจ การปฏิเสธขีดความสามารถและการจำกัดข้อมูลที่เปิดเผย” ก็รู้สึกสะกิดใจว่าทำไมชาติตะวันตกถึงต้องออกมาแถลงข่าวความสงสัยอย่างเป็นทางการ ในขณะที่อีกหลายร้อยประเทศทั่วโลกไม่เคยถามสหรัฐฯ ว่าแล้วทำไมสหรัฐฯ จะต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินถึง ๑๐ ลำ แล้วอยู่ในระหว่างการต่ออีก ๓ ลำ นอกจากคนในสหรัฐฯ เองที่เคยตั้งคำถามนี้ต่อตัวเอง ว่าสหรัฐฯ มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินมากถึง ๑๑ ลำ ในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า (Robert Gates: “Do we really need 11 carrier strike groups for another 30 years when no other country has more than one?”) ในขณะที่ชาติอื่นๆที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินมีเพียงแค่ประเทศละลำหรือสองลำเท่านั้น ซึ่งเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ แต่ละลำมีค่าใช้จ่ายมากถึง ๑๕,๐๐๐ ล้านสหรัฐ และในสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ขณะนี้สหรัฐฯ ควรลดจำนวนเรือลรรทุกเครื่องบินลงเหลือกี่ลำ
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเช่นกันว่า สปจ. ทำไมจึงเพิ่งอยากมีเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งที่การใช้เรือบรรทุกเครื่องบินในสงครามทางเรือแพร่หลายมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๑ แล้ว หลายท่านคงเคยได้อ่านบทความจากนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศถึงเหตุผลที่มีความน่าจะเป็น (ผู้เขียนใช้คำว่า “มีความน่าจะเป็น” เพราะจะมีใครรู้ความจริงหลังม่านเหล็ก เนื่องจาก สปจ. ไม่เคยเปิดเผยข้อมูลด้านการพัฒนากองทัพ ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ แผนการพัฒนาประเทศ ฯลฯ ให้โลกได้รับรู้และตรวจสอบได้ ไม่เหมือนโลกตะวันตกที่ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูลได้ในอินเตอร์เนท เนื่องด้วยระบอบการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ไม่จำเป็นต้องให้ ผบ.หน่วยทหารมาชี้แจงต่อรัฐสภาเพื่อของบประมาณประจำปี (Defense Testimony to Congress) ว่าจะพัฒนาโครงการอะไร เพื่ออะไร งบประมาณเท่าไร โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศ ในขณะที่บทความส่วนใหญ่เกี่ยวกับ สปจ. เป็นการคาดการณ์ตามหลักวิชาการโดยอ้างอิงจากตัวเลขดุลการค้าหรือการใช้จ่ายด้านการทหารที่รัฐบาล สปจ. ต้องการจะเปิดเผยเท่านั้น และที่ไม่ได้เปิดเผยมีเท่าใดก็ไม่มีใครทราบได้) ที่ สปจ. ต้องเพิ่มแสนยานุภาพทางทหาร ด้วยเพราะต้องการสร้างความสมดุลย์ให้สามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นแบบคู่ขนาน ซึ่งนับวันผลประโยชน์ของชาติ สปจ. จะอยู่ไกลโพ้นทะเลมากขึ้นทุกวัน ดังนั้น ความต้องการมีเรือบรรทุกเครื่องบินของ ทร.สปจ. เริ่มต้นมาพร้อมกับการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดภายหลังจากที่ เติ้ง เสี่ยวผิง เข้ามาบริหารประเทศปี ๒๓ (ค.ศ.๑๙๘๐) ภายใต้แนวทางการปกครองคอมมิวนิสต์แบบใหม่ที่ไม่ปิดกั้นโอกาสทางการค้ากับต่างประเทศทั่วโลก ด้วยวิสัยทัศน์ของ เติ้ง ที่ปรากฏตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๘๐ คือ จีนจักหลบซุ่มอยู่หลังม่านไม้ไผ่ต่อไปไม่ได้อีก แต่ต้องเปิดประเทศออกคบค้ากับทั่วโลก เติ้งบอกว่า "สังคมนิยม ไม่ได้หมายถึงการ แบ่งกันจน” ด้วยเหตุนี้ เติ้งจึงไม่เคยปิดประตูใส่แนวคิดดีๆ ที่จะทำให้ชาติจีนมั่งคั่ง ประชาชนกินดีอยู่ดี ไม่ต้องอดอยากปากแห้งเหมือนสมัยอดีต แม้แนวคิดบางอย่างจะมาจากชาติที่เป็นทุนนิยมสุดขั้วก็ตาม นั่นเป็นที่มาของวรรคทองอมตะจากปากเติ้ง "จะเป็นแมวสีดำหรือขาวไม่สำคัญ ขอให้จับหนูได้ก็พอ"
สมาชิกและผู้อ่านสามารถติดตามอ่านต่อได้ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๑ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๕